เครื่องทดสอบหัวฉีดคอมมอนเรล
รุ่น Di-80
Bosch , Denso , Delphi , Siemens
ยกหัวฉีด Tiger D4D ได้
ยกหัวฉีด Vigo Champ
ยกหัวฉีดเปียโซได้ (BT50, Ranger 2012)





อุปกรณ์ครบชุด สายต่อหัวฉีดทุกแบบ
สำหรับเช็คหัวฉีด Bosch ,Denso 1,Denso2(Tiger D4D),Delphi
เช็คหัวฉีดเปียโซ(Piezo-electric Injector)ได้ (BT50 , Ranger 2012-2013-now)
เช็คหัวฉีดTiger D4D ,Vigo Champ
มีเครื่องมือนี้ งานเช็คระบบหัวฉีดดีเซล
ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ใช้งานง่ายมาก ไม่ยุ่งยาก
ชุดเช็คหัวฉีด จะทรงประสิทธิภาพที่สุด หากใช้งานร่วมกับเครื่องสแกน X431,DS708,ProScan เนื่องจากทำให้รู้ว่า หลังจากหัวฉีดทำงานแล้ว การเผาไหมสมบูรณ์ดีหรือไม่ ระบบโดยรวมของเครื่องยนต์ เป็นอย่างไรคุ้มค่ากับการลงทุน ในราคาเหมาะสม ท่านสามารถจบงานได้ภายในอู่ซ่อมท่านเอง เพิ่มรายได้ให้กิจการ
มาพร้อมอุปกรณ์
- คอมพิวเตอร์สั่งการหัวฉีด Electronic Unit
- สายเคเบิ้ลต่อหัวฉีดแบบต่างๆ 5 แบบ
- Main cable
ตั้งค่าความถี่ FREQ :1- 30 Hz ---ให้ยกถี่ ช้า เร็ว ตามต้องการ , rpm =120x F
ตั้งค่าการยก WIDE : 100-6000 ไมโครวินาที ---ให้ยกมาก ยกน้อย
Count T: 0-2000
เครื่องทำงานอัตโนมัติ มีโปรแกรมให้เลือก U1,U2,CL,VL,VE,LL,TL
ตารางเปรียบเทียบ เครื่องยกหัวฉีด
No |
Model |
ราคา |
หัวฉีดโซลินอยด์ |
หัวฉีดเปียโซ(สำหรับรถรุ่นใหม่ๆ ) |
Denso |
Tiger D4D |
Bosch |
Delphi |
Siemens |
Densoวีโก้แชมป์ |
Bosch:BT50Pro,Ranger |
Delphi |
Siemens |
1 |
Di 10 |
19,000 |
ได้ |
ได้(ต้องใช้กล่องพ่วง) |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
2 |
Di 10 Plus |
25,000 |
ได้ |
ได้(ต้องใช้กล่องพ่วง) |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ไม่ได้ |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
3 |
Di 40 |
25,000 |
ได้ |
ได้(ไม่ต้องใช้กล่องพ่วง) |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ไม่ได้ |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
4 |
Di 70 |
19,000 |
ได้ |
ได้(ไม่ต้องใช้กล่องพ่วง) |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
ไม่ได้ |
5 |
Di 80 |
28,000 |
ได้ |
ได้(ไม่ต้องใช้กล่องพ่วง) |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ได้ |
ได้ |





ลักษณะของหัวต่อแบบต่างๆ
ใช้ได้กับหัวฉีดทุกยี่ห้อ
Bosch ,Denso ,Delphi

จำแนกสาย


1.เวลา ในการยก โดยการเซ็ตค่า W (Pulse width ) มีหน่วยเป็น
ไมโครวินาที ( 1/1,000,000 วินาที ) ภาษาช่างเรียกว่า ยกนาน ยกเร็ว
2.ความถี่ในการยก โดยเซ็ตค่า F ( Frequency ) คือจำนวนครั้งที่ยกหัวฉีด
ใน 1 วินาที
ในรถยนต์ 4 สูบ จะตั้งค่าประมาณ F = 6 – 7
หรือเท่ากับ 6 x 120 = 720 rpm
7 x 120 = 840 rpm
เครื่องนี้เป็นเครื่องรุ่นนี้ คุณภาพดี สามารถทดสอบหัวฉีด Commonrail ได้ทั้ง Denso, Bosch, Delphi โดยทำการทดสอบด้วยค่าหลัก ๆ 2 ประการข้างต้น ซึ่งเพียงเท่านี้ก็วินิจฉัยได้แล้วว่า หัวฉีดปกติหรือไม่
นอก จากนี้ หากเรารู้ค่า การฉีดมาตรฐานของหัวฉีดแต่ละรุ่น ก็สามารถทำการตวงปริมาณการฉีด ( CC ) ของหัวฉีดแต่ละหัวได้ โดยการตั้งค่า C ( Count ) โดยฟังก์ชั่นนี้จะทำการนับให้เรา ( เหมือนจับเวลาในการฉีด ) แล้วหยุดอัตโนมัติ เราจึงทำการตวงการฉีดของแต่ละหัวได้
ยกตัวอย่างเช่น หัวฉีด Denso ตั้งค่าการฉีดที่
W = 650
F = 7
C = 120
หากตวงการฉีดแต่ละหัว สมมุติว่าได้ดังนี้
หัวที่ 1 = 5.2 CC
หัวที่ 2 = 5.5 CC
หัวที่ 3 = 8.7 CC
หัวที่ 4 = 4.1 CC
ค่า มาตรฐาน ( จากตาราง ) ระบุไว้ 5.3 CC นี่แสดงว่า หัวฉีดที่ 3 มีปัญหา คือ ฉีดมากเกินไป และหัวฉีดที่ 4 ก็มีปัญหาคือ ฉีดน้อยเกินไป อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อทำการทดสอบแล้ว ดีที่สุดคือ ทำการล้างด้วยเครื่องล้างอุลตร้าโซนิคส์ ภาษาช่างเรียกว่า เครื่องต้มหัวฉีด ซึ่งจะทำให้ชิ้นส่วน หัวฉีดสะอาด การทำงานแม่นยำขึ้น หลีกเลี่ยงปัญหาหัวฉีดตัน ยกไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อโซลินอยด์ หัวฉีดที่จะเสียหายจากการทำงานหนัก ( พยายามยก ) เกินไป
ง่าย ๆ เพียงเท่านี้ งานบำรุงรักษาหัวฉีดคอมมอนเรลก็เป็นเรื่องง่าย แล้วได้เงินด้วย
เครื่องมือที่ใช้งานคู่กันกับเครื่องเช็คหัวฉีด คือ ปั้มโยกทดสอบหัวฉีดดีเซล
ปั้มโยกทดสอบหัวฉีดดีเซล
เพื่อตรวจสอบ ดังนี้
1.ตรวจสอบการยกของหัวฉีด
2.ตรวจสอบรั่วซึมระหว่าง ตัวเข็ม (Injector needle) กับ ตัวเสื้อหัวฉีด (Injector Body )
3.ตรวจสอบรูปแบบการสเปรย์
4.ลักษณะการไหลภายใน และการสไลด์ของเข็มหัวฉีด ( ฟังจากเสียง ) กรณีเป็นหัวฉีดแบบเก่าไม่ใช่คอมมอนเรล
การใช้งาน
ประ กอบท่อแป้บเข้ากับหัวฉีดและตัวปั้ม แล้วค่อยๆโยกคันโยกดูเพื่อเช็คดูว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ค่อยๆโยกเพิ่มความดันไปเรื่อยๆ
1.กรณีเช็คดูการเปิดของหัวฉีดรุ่นเก่าที่ไม่ใช่คอมมอนเรล
ต้องดูสเปคหัวฉีดรุ่นนั้นๆก่อนว่า เปิดที่ความดันเท่าไหร่
โยก ปั้มช้าๆ จนกระทั่ง หัวฉีดเปิด แล้วดูว่าเปิดที่ความดันเท่าไหร่ ถ้าแตกต่างจากสเปคเดิมไปมากให้ปรับตั้งตัวชิม ( Shim ) หัวฉีดใหม่
2.กรณีเช็คการรั่วระหว่างเข็มหัวฉีดกับเสิ้อหัวฉีด
โยกปั้มไปที่ความดันที่หัวฉีดยก – 20 bar สมมุติว่าหัวฉีดเปิดที่ 300 bar ( 0.3 MPa ) ก็โยกปั้มไปที่ 280 bar ( 0.28 MPa)
ถ้าภายในเวลา 10 นาที เข็มไม่ตก หรือ ไม่มีการออกมาจากหัวฉีดก็แสดงว่า ปกติดี แต่ถ้ามีการรั่ว ก็ให้แก้ไขโดยการเปลี่ยนเข็ม หรือ ล้าง
3.การตรวจสอบการสไลด์ของเข็ม
ให้ทำการโยกคันโยกแบบช้าๆ บ้าง เร็วๆบ้าง แล้วฟังเสียง การยกหรือสไลด์ตัว ซึ่งจะคล้ายๆ กับเสียงผิวปากเบาๆ
การโยกปกติจะอยู่ที่ 1 ครั้ง ต่อวินาที
โยกแบบช้าๆ หัวฉีดจะสเปรย์แบบ ยาวๆ
โยกแบบเร็ว หัวฉีดก็จะฉีดแบบสั้นๆ แต่เร็วขึ้นตามจังหวะ
หมายเหตุ
การโยกเร็วเกินไป อาจทำให้เกจวัดความดันเสียหายได้
สเปรย์มีแรงดันสูง อย่าให้ถูกผิวหนังโดยตรง เพราะจะทำให้ซึมเข้ากระแสเลือดได้
รูปแบบการฉีดที่ดี
ต้องออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม ( Cone Shape ) คล้ายๆโคนไอศกรีม หรือ รูปกรวย และ สเปรย์ต้องออกมาแบบละเอียดเป็นฝอยทุกทิศทาง